เห็ดโอ่ง: แบบเกษตรอินทรีย์ เพาะง่าย ใช้พื้นที่น้อย
loading...
เห็ดเป็นพืชผักที่ทำอาหารได้หลายเมนู และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ จุดเด่นคือนุ่มเคี้ยวง่าย ย่อยง่าย วันนี้เลยเอาวิธีเพาะแบบง่ายๆ แบบเห็ดในโอ่งมาแนะนำเพื่อนๆพี่น้องที่สนใจเกษตรอินทรีย์ได้ลองทำกัน
ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ ตอนเด็กๆลุงเปี๊ยกออกไปเก็บเห็ดตามท้องทุ่งนา เดี๋ยวนี้ฝนจะตกไม่ตกเราก็มีเห็ดกินกันตลอดปี เอามาทำอาหารได้เยอะมากๆ เดี๋ยวนี้เห็ดกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวนึง จึงมีคนเพาะขายเป็นฟาร์มกันเลยทีเดียว เห็ดเป็นพืชที่ใช้พื้นที่น้อยในการเพาะ ดูแลง่าย แต่คนใหม่ๆลองเพาะไว้ทานเอง แนะนำว่าเพาะในโอ่ง จริงๆทำเป็นพื้นที่ใหญ่ๆก็ได้ อันนี้แล้วแต่ใครมีสถานที่(เก็บโอ่ง) มากน้อยแค่ไหน จัดไปตามใจชอบเลยครับ (รูปประกอบอาจจะบ้านบ้าน ไม่สวย เพราะเราเน้นแบบเกษตรกรบ้านนอกจริงๆ ใช้วัสดุที่หาได้แถวบ้านนั่นเอง ขออภัยคนเมืองทุกคนด้วยครับที่ภาพวัสดุไม่สวยงาม)
จากสภาพความ เป็นอยู่ของประชาชนในชนบทตั้งแต่สมัยก่อน ทุกครัวเรือนส่วนใหญ่จะมีโอ่งเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการบริโภคและอุปโภค จนมาถึงปัจจุบันความเจริญต่างๆได้เข้ามาสู่ชนบทเพิ่มมากขึ้น บางแห่งมีน้ำประปาเข้าถึงทำให้โอ่งเริ่มหมดความจำเป็นเนื่องจากมีวัสดุ อุปกรณ์อื่นๆมาแทนที่ ดังนั้นโอ่งที่ไม่ได้ใช้แล้วสามารถนำมาดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ในการเพาะเห็ด เพื่อบริโภคในครัวเรือนได้อย่างดีตามขั้นตอนวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้
เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.โอ่งเหลือใช้(เพราะเราเน้นลงทุนน้อยสุดสำหรับผู้เริ่มต้นเพาะ) อาจจะเป็นโอ่งดินเผาหรือโอ่งที่แตกร้าว,รั่ว ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้
กรณีโอ่งที่แตกร้าว , รั่ว ให้หงายเอาส่วนที่แตกร้าว หรือ รั่วขึ้นไว้ด้านบนเพื่อให้กัก
เก็บน้ำได้
2.ตะแกรงหรือไม้สำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด (ภาพที่1)
3.กระสอบป่านหรือเศษผ้าที่เก็บรักษาความชื้นได้ดีสำหรับปิดปากโอ่ง (ภาพที่2)
4.ขาตั้งหรือไม้สำหรับวางโอ่งไม่ให้เคลื่อนไหว (ภาพที่3)
5.ก้อนเชื้อเห็ด โดยเห็ดที่จะเพาะควรเป็นเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า
ขั้นตอนการทำแบบง่ายๆ
1.วางโอ่งตามแนวนอนบนขาตั้งหรือไม้สำหรับวางโอ่งให้สูงจากพื้นดินประมาณ
1-1.20 เมตร
2.วางตะแกรงหรือไม้ลงในโอ่งสำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด
3.ใส่น้ำลงในโอ่งเพื่อให้เกิดความชื้น โดยให้น้ำอยู่ต่ำกว่าชั้นวางตะแกรงหรือไม้ที่วางก้อนเชื้อเห็ด
4.วางก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 20 ก้อนบนตะแกรงหรือไม้ที่วางก้อนเชื้อเห็ดที่จัดเตรียมไว้
5.ใช้ผ้าที่เก็บรักษาความชื้นได้ดี หรือกระสอบป่านปิดปากโอ่งเพื่อเก็บความชื้นและป้องกันแมลง
การดูแลรักษา
1.รดน้ำทุกวันๆละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าอากาศร้อนมากๆ ควรเพิ่มการรดน้ำให้บ่อยครั้งขึ้น
2.หลังจากวางก้อนเชื้อเห็ดแล้วให้รอ 1 สัปดาห์ถึงจะเปิดดอกได้ (การเปิดดอกหมายถึงการดึงสำลีออกจากก้อนเชื้อเห็ด)
3.สามารถเก็บเห็ดได้ทุกๆ 3-5 วัน
เป็นไงกันบ้างครับ หวังว่าจะเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับคนใหม่ๆ หัวใจเกษตรได้ลองหัดเพาะเห็ดกันน่ะครับ พอทำได้ดีค่อยๆศึกษาค่อยๆลงทุนขยับขยาย(วัสดุสวยๆก็ลองซื้อหามาใช้ดู) จากใช้โอ่งเป็นโรงเรือนก็ขยายเป็นโรงเรือนมีหลังคาไปเลย ไม่แน่ในอนาคตจะกลายเป็นฟาร์มเห็ดใหญ่โต รวยแล้วก็มาแบ่งปันเห็ดและความรู้ให้เพื่อนๆพี่น้องและลุงเปี๊ยกบ้างน่ะคร้าาบ
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพจาก
1.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน)
2.โรงเรือนงานวิจัยเห็ดหลินจือ เชียงใหม่
Cr:http://www.kasetinsee.info/2016/09/blog-post_1.html
ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ ตอนเด็กๆลุงเปี๊ยกออกไปเก็บเห็ดตามท้องทุ่งนา เดี๋ยวนี้ฝนจะตกไม่ตกเราก็มีเห็ดกินกันตลอดปี เอามาทำอาหารได้เยอะมากๆ เดี๋ยวนี้เห็ดกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวนึง จึงมีคนเพาะขายเป็นฟาร์มกันเลยทีเดียว เห็ดเป็นพืชที่ใช้พื้นที่น้อยในการเพาะ ดูแลง่าย แต่คนใหม่ๆลองเพาะไว้ทานเอง แนะนำว่าเพาะในโอ่ง จริงๆทำเป็นพื้นที่ใหญ่ๆก็ได้ อันนี้แล้วแต่ใครมีสถานที่(เก็บโอ่ง) มากน้อยแค่ไหน จัดไปตามใจชอบเลยครับ (รูปประกอบอาจจะบ้านบ้าน ไม่สวย เพราะเราเน้นแบบเกษตรกรบ้านนอกจริงๆ ใช้วัสดุที่หาได้แถวบ้านนั่นเอง ขออภัยคนเมืองทุกคนด้วยครับที่ภาพวัสดุไม่สวยงาม)
จากสภาพความ เป็นอยู่ของประชาชนในชนบทตั้งแต่สมัยก่อน ทุกครัวเรือนส่วนใหญ่จะมีโอ่งเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการบริโภคและอุปโภค จนมาถึงปัจจุบันความเจริญต่างๆได้เข้ามาสู่ชนบทเพิ่มมากขึ้น บางแห่งมีน้ำประปาเข้าถึงทำให้โอ่งเริ่มหมดความจำเป็นเนื่องจากมีวัสดุ อุปกรณ์อื่นๆมาแทนที่ ดังนั้นโอ่งที่ไม่ได้ใช้แล้วสามารถนำมาดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ในการเพาะเห็ด เพื่อบริโภคในครัวเรือนได้อย่างดีตามขั้นตอนวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้
เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.โอ่งเหลือใช้(เพราะเราเน้นลงทุนน้อยสุดสำหรับผู้เริ่มต้นเพาะ) อาจจะเป็นโอ่งดินเผาหรือโอ่งที่แตกร้าว,รั่ว ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้
กรณีโอ่งที่แตกร้าว , รั่ว ให้หงายเอาส่วนที่แตกร้าว หรือ รั่วขึ้นไว้ด้านบนเพื่อให้กัก
เก็บน้ำได้
2.ตะแกรงหรือไม้สำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด (ภาพที่1)
3.กระสอบป่านหรือเศษผ้าที่เก็บรักษาความชื้นได้ดีสำหรับปิดปากโอ่ง (ภาพที่2)
4.ขาตั้งหรือไม้สำหรับวางโอ่งไม่ให้เคลื่อนไหว (ภาพที่3)
5.ก้อนเชื้อเห็ด โดยเห็ดที่จะเพาะควรเป็นเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า
ภาพที่ 1 ตะแกรงหรือไม้
ภาพที่ 2 กระสอบป่านหรือเศษผ้า
ภาพที่ 3 ขาตั้งสำหรับวางโอ่ง
ขั้นตอนการทำแบบง่ายๆ
1.วางโอ่งตามแนวนอนบนขาตั้งหรือไม้สำหรับวางโอ่งให้สูงจากพื้นดินประมาณ
1-1.20 เมตร
2.วางตะแกรงหรือไม้ลงในโอ่งสำหรับวางก้อนเชื้อเห็ด
3.ใส่น้ำลงในโอ่งเพื่อให้เกิดความชื้น โดยให้น้ำอยู่ต่ำกว่าชั้นวางตะแกรงหรือไม้ที่วางก้อนเชื้อเห็ด
4.วางก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 20 ก้อนบนตะแกรงหรือไม้ที่วางก้อนเชื้อเห็ดที่จัดเตรียมไว้
5.ใช้ผ้าที่เก็บรักษาความชื้นได้ดี หรือกระสอบป่านปิดปากโอ่งเพื่อเก็บความชื้นและป้องกันแมลง
การดูแลรักษา
1.รดน้ำทุกวันๆละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ถ้าอากาศร้อนมากๆ ควรเพิ่มการรดน้ำให้บ่อยครั้งขึ้น
2.หลังจากวางก้อนเชื้อเห็ดแล้วให้รอ 1 สัปดาห์ถึงจะเปิดดอกได้ (การเปิดดอกหมายถึงการดึงสำลีออกจากก้อนเชื้อเห็ด)
3.สามารถเก็บเห็ดได้ทุกๆ 3-5 วัน
เป็นไงกันบ้างครับ หวังว่าจะเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับคนใหม่ๆ หัวใจเกษตรได้ลองหัดเพาะเห็ดกันน่ะครับ พอทำได้ดีค่อยๆศึกษาค่อยๆลงทุนขยับขยาย(วัสดุสวยๆก็ลองซื้อหามาใช้ดู) จากใช้โอ่งเป็นโรงเรือนก็ขยายเป็นโรงเรือนมีหลังคาไปเลย ไม่แน่ในอนาคตจะกลายเป็นฟาร์มเห็ดใหญ่โต รวยแล้วก็มาแบ่งปันเห็ดและความรู้ให้เพื่อนๆพี่น้องและลุงเปี๊ยกบ้างน่ะคร้าาบ
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพจาก
1.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน)
2.โรงเรือนงานวิจัยเห็ดหลินจือ เชียงใหม่
Cr:http://www.kasetinsee.info/2016/09/blog-post_1.html